วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมา

ประวัติบ้านจาน  ต.ทับใหญ่  อรัตนบุรี  จ.สุรินทร์


ประวัติหมู่บ้านที่ได้บันทึกไว้จากผู้ได้รู้ได้เห็นซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม ที่ได้จากการสัมภาษณ์คนแก่ยุกบุกเบิกหมู่บ้านพอสรุปได้ดังนี้
            
          เมื่อประมาณปี  พ.๒๔๖๐ 

         กลุ่มที่ ๑ ได้มีนายผง  เทียมสะอาด  พร้อมครอบครัว  ได้อพยพมาจากบ้านกุดหวาย  (รัตนบุรีสมัยนั้นขึ้นกับเมืองนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ในปัจจุบันมาตั้งบ้านอยู่ที่ริมกุดขาคีม  ด้านทิศตะวันออกของวัดป่าบ้านจานในปัจจุบัน  ซึ่งห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันประมาณ  ๘๐๐เมตร และอีกครอบครัวหนึ่งคือนายเสาร์  นางผิง  ที่อพยพมาจากบ้านสี่เหลี่ยม  ตำบลไผ่  ในปัจจุบัน  เข้ามาตั้งบ้านครั้งแรกอยู่ห่างจากนายเสาร์ประมาณ  ๕๐๐ เมตร อยู่ทิศตะวันตกหนองจาน  ปัจจุบันหนองนี้อยู่ด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน สองครอบครัวนี้  เป็นพรานล่าเนื้อขาย  และแลกสิ่งของ เช่นข้าวเปลือก เป็นต้น
         กลุ่มที่ ๒  มีกลุ่มมีหลายครอบครัว มี นายสังข์  กมล  เป็นหัวหน้า ,กลุ่มญาติ นายลา นายแสง  นายนิล กมล   กลุ่มญาตินายพิมพ์  นายปาน  นายเจ้ย  นายจ่อย  พรบุญ  นายพวง  นายสงิห์  ถิ่นทัพไทย  นายชม  พิหูสูตร กลุ่มนี้มาจากบ้านหนองฮี  อำเภอพนมไพร  และบ้านหนองบั่ว  บ้านแห่ อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด 
         กลุ่มที่  ๓ ซึ่งมี นายถาน  ผิวจันทร์  นายหยุย  ทองสุด  นายสาน  ตาแสง   เป็นต้นอพยพมาจากบ้านคลี่กลิ้ง  อ.ราศรีไศล   และอำเภออื่น ๆ จ.ศรีสะเกษ
       กลุ่มที่ ๔  มีกลุ่มของนายแก้ว  แสงภักดิ์  และนายดำ  คำผาง  เป็นหัวหน้า  อพยพมาจากบ้านดง  อำเภอฟ้าหยาด  จังหวัดยโสธร
ต่อมามีคนอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บางครอบครัวไปอยู่ใกล้กับนายผง  จนเป็นหมู่บ้านอีกหมู่บ้านหนึ่ง  ชาวบ้านเรียกว่า บ้านน้อย”  ต่อมาเกิดน้ำท่วมที่ตั้งบ้านเรือน  จึงพากันย้ายมาอยู่ใกล้นายเสาร์ซึ่งเป็นที่สูงกว่า  และในปีนั้นก็ได้มีเพื่อนบ้านอพยพเข้าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยกว่าครอบครัวเรือน  ได้พากันเรียกหมู่บ้านของตนเองเป็นคุ้ม  บ้านหนองบั่วบ้าง บ้านหนองฮีบ้าง  คุ้มบ้านคงบ้าง   และผู้นำในหมู่บ้านขณะนั้นคือนายสังข์  กมล  ได้นัดประชุมหัวหน้าคุ้มต่าง ๆ  เรื่อง ควรจะตั้งชื่อหมู่บ้านของเราอย่างดี  และในที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า ควรตั้งชื่อบ้านว่า  บ้านจานด้วยตั้งตามลักษณะสิ่งแวดล้อม  คือในที่ใกล้หมู่บ้านนี้มีต้นจาน ขึ้นโดยรอย ๆ หมู่บ้านเป็นจำนวนมาก  (ภาคกลางเรียกต้นทองกวาว)มีลักษณะของต้นสูงใหญ่  ออกดอกสีแดง หรือ มีบางต้นดอกสีเหลือง  ลักษณะดอกคล้ายดอกแค ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน  และชาวบ้านยังนิยมเรียกชื่อเพิ่มว่า  บ้านจานโจด”  เพราะมีต้นโจดขึ้นรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นจำนวนมากเช่นกัน  ต้นโจดเป็นต้นไม้ตระกูลไผ่  การเรียกชื่อส่วนใหญ่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าบ้านจาน  ส่วนคนถิ่นอื่นนิยมเรียกว่าจานโจด  เพื่อให้ชื่อต่างกันกับ บ้านจาน – เตย  ซึ่งอยู่พื้นที่ใกล้เคียงกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น