วัดดอกจานรัตนาราม
ประวัติวัดอกจานรัตนาราม
เมื่อ พ.ศ. 2467 นายสังข์ กมล เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีนายหยุย ทองสุด นายชม พิหูสูตร นายพวง พรบุญ นายพิมพ์ นายปาน พรบุญ นายนิล กมล และนายสิงห์ ถิ่นทัพไทยได้ชักชวนกันสร้างวัดขึ้นใกล้หมู่บ้าน เลือกทำเลเหมาะสมด้านทิศตะวันออก ของหมู่บ้านต่อมาได้ไปปรึกษาและนิมนต์พระอาจารย์น้อยเจ้าอาวาสบ้านดง อำเภอฟ้าหยาด มาเป็น ประธานฝ่ายสงฆ์อำนวยการสร้างกุฎิขึ้นหนึ่งหลัง และนิมนต์ท่านมาจำพรรษาที่วัดสร้างใหม่แห่งนี้ หนึ่งพรรษา แล้วท่านได้แนะนำให้ไปนิมนต์พระน้องชายของท่านที่อยู่วัดบ้านดงมาอยู่ประจำที่นี่ แล้วตั้งชื่อวัดว่า “วัดบ้านจาน” ที่มาของคำว่า“วัดสว่างพานิช”เมื่อปี พ.ศ.2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ น้ำได้ท่วมถึงลานวัด ขณะนั้น มีเรือพ่อค้าได้ผ่านมาแวะพักค้างแรม ในบริเวณวัด ในขณะเดียวกันพ่อค้าแม่ค้าดังกล่าว ก็ได้นำ สินค้นค้าที่บรรทุกมา ออกมาขายให้กับชาวบ้าน สินค้าส่วนมากก็เป็นพวก ภาชนะถ้วย โถ โอ ชาม จาน และไหใส่ปลาร้า ซึ่งช่วงนั้นก็มีพระสังฆาธิการระดับปกครอง ออกมาสำรวจวัด ให้ขึ้นทะเบียน และตั้งชื่อวัด เพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และท่านก็ได้ มาเห็นชาวบ้าน กับพวกพ่อค้ากำลัง สาละวล อยู่กับการซื้อขายแลกเปลี่ยน ก็เลยแนะนำให้ ตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดสว่างพานิช ตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ๆ ก็ไม่ปรากฏมีพวกพ่อค้าแม่ขาย มาประกอบกิจ ดังเช่น ปีนั้นอีกเลย ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีเพียงเดียวคืนเดียวเท่านั้น
ต่อมาชาวบ้านได้เรียนหนังสือ ก็ไม่นิยมเรียกชื่อวัด ตามที่ทางคณะสงฆ์มาตั้งให้แต่ประการใดยังคงเรียกเป็นผู้ร่างหนังสือ และดำเนินการติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบตามลำดับขั้นตอน และในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2542 ก็ได้รับหนังสือจากกรมศาสนา แจ้งว่า คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อได้ตามที่ร้องขอทุกประการ อันที่จริงมีการยื่นหนังสือขอเปลี่ยนชื่อวัดหลายครั้งแล้วว่าวัดบ้านจาน หรือวัดสว่างบ้านจาน แล้วเมื่อ พ.ศ. 2541 สมัยหลวงปู่ดี รักขิตธัมโม เป็นเจ้าอาวาส คณะลูกศิษย์และชาวบ้านจานได้ปรึกษากัน และได้ทำหนังสือขอเปลี่ยนชื่อวัด โดยมีพระอาจารย์ เจ้าอธิการภูชิต ยสินฺธโร ครั้งนี้ที่สำเร็จโดยง่ายเพราะได้ทำถูกต้องตามขั้นตอนต่างๆ โดยเฉพาะชุมชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นจนถึงได้ลงมติเป็นเอกฉัน ว่าเขาต้องการชื่อวัดที่มีความเป็นมาอันเกี่ยวข้องกับประวัติหมู่บ้านเขา และชื่อวัดต้องมีความเหมาะสม หลักการและเหตุผลที่สามารถอนุญาตให้เปลี่ยนได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ชื่อวัดดอกจานรัตนารามนี้ เพราะอะไรจึงไม่เอาเพียงว่า วัดบ้านจาน ก็น่าจะพองาม จึงขออธิบายให้ได้รู้ทั่วกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า คำว่า“จาน”ในภาษาเขียน หมายถึง ภาชนะใส่อาหาร ประการหนึ่ง และอาจหมายถึงต้นไม้หรือ ต้นจานในภาษาเรียกของคนภาคอีสานเราก็ได้ แต่ถ้ามานึกถึงภาษาพูด จะมีความหลายนัยด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้เน้นให้คำว่า“จาน”ในที่นี้ เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่คนภาคอีสานเรียกชื่อแล้วรู้กันทันที ส่วนคนภาคอื่นจะเรียกว่า ต้นทองกวาว ก็เป็นอีกเรื่องและที่สำคัญ ได้นำเอาคำว่า“ดอก”มาเสริมให้มีความหมายที่ตัดสินได้ว่าเป็นต้นไม้เท่านั้น เพราะสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน(บ้านจาน) ส่วนคำว่า“รัตน”พื้นที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี คำว่า“อาราม” ก็หมายถึงความรื่นรมสบายใจ ซึ่งวัดทั่วไป นิยมใช้กัน เมื่อนำมาสนธิกัน จึงได้รูปศัพท์เป็น“วัดดอกจานรัตนาราม” ตั้งแต่ตั้งวัด - ปัจจุบัน มีเจ้าอาวาสผ่านมาแล้ว 11 รูป
รายนามเจ้าอาวาสวัดดอกจานรัตนาราม รูปแรก – ปัจจุบัน
๑. พระอธิการน้อย กตธมฺโม ปี พ.ศ. ๒๔๖๗
๒. พระอธิการทัด ถาวโร ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๗๑
๓. พระอธิการผุย อภิวฑฺฒโน ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๘๒
๔. พระอธิการชาลี ฐิตธมฺโม ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๙
๕. พระอธิการบุญ ปุญญกโร ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๒
๖. พระอธิการทอง สุวณโณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๔
๗. พระอธิการหวัน เชตธมฺโม ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๔๙๗
๘. พรอธิการพรมมา วรธมฺโม ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๑๐
๙. พระอธิการเผือก จนฺทธมฺโม ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๙
๑๐. พระอธิการดี รกฺขิตธมฺโม ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๔๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น