วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมา

ประวัติบ้านจาน  ต.ทับใหญ่  อรัตนบุรี  จ.สุรินทร์


ประวัติหมู่บ้านที่ได้บันทึกไว้จากผู้ได้รู้ได้เห็นซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม ที่ได้จากการสัมภาษณ์คนแก่ยุกบุกเบิกหมู่บ้านพอสรุปได้ดังนี้
            
          เมื่อประมาณปี  พ.๒๔๖๐ 

         กลุ่มที่ ๑ ได้มีนายผง  เทียมสะอาด  พร้อมครอบครัว  ได้อพยพมาจากบ้านกุดหวาย  (รัตนบุรีสมัยนั้นขึ้นกับเมืองนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ในปัจจุบันมาตั้งบ้านอยู่ที่ริมกุดขาคีม  ด้านทิศตะวันออกของวัดป่าบ้านจานในปัจจุบัน  ซึ่งห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันประมาณ  ๘๐๐เมตร และอีกครอบครัวหนึ่งคือนายเสาร์  นางผิง  ที่อพยพมาจากบ้านสี่เหลี่ยม  ตำบลไผ่  ในปัจจุบัน  เข้ามาตั้งบ้านครั้งแรกอยู่ห่างจากนายเสาร์ประมาณ  ๕๐๐ เมตร อยู่ทิศตะวันตกหนองจาน  ปัจจุบันหนองนี้อยู่ด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน สองครอบครัวนี้  เป็นพรานล่าเนื้อขาย  และแลกสิ่งของ เช่นข้าวเปลือก เป็นต้น
         กลุ่มที่ ๒  มีกลุ่มมีหลายครอบครัว มี นายสังข์  กมล  เป็นหัวหน้า ,กลุ่มญาติ นายลา นายแสง  นายนิล กมล   กลุ่มญาตินายพิมพ์  นายปาน  นายเจ้ย  นายจ่อย  พรบุญ  นายพวง  นายสงิห์  ถิ่นทัพไทย  นายชม  พิหูสูตร กลุ่มนี้มาจากบ้านหนองฮี  อำเภอพนมไพร  และบ้านหนองบั่ว  บ้านแห่ อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด 
         กลุ่มที่  ๓ ซึ่งมี นายถาน  ผิวจันทร์  นายหยุย  ทองสุด  นายสาน  ตาแสง   เป็นต้นอพยพมาจากบ้านคลี่กลิ้ง  อ.ราศรีไศล   และอำเภออื่น ๆ จ.ศรีสะเกษ
       กลุ่มที่ ๔  มีกลุ่มของนายแก้ว  แสงภักดิ์  และนายดำ  คำผาง  เป็นหัวหน้า  อพยพมาจากบ้านดง  อำเภอฟ้าหยาด  จังหวัดยโสธร
ต่อมามีคนอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บางครอบครัวไปอยู่ใกล้กับนายผง  จนเป็นหมู่บ้านอีกหมู่บ้านหนึ่ง  ชาวบ้านเรียกว่า บ้านน้อย”  ต่อมาเกิดน้ำท่วมที่ตั้งบ้านเรือน  จึงพากันย้ายมาอยู่ใกล้นายเสาร์ซึ่งเป็นที่สูงกว่า  และในปีนั้นก็ได้มีเพื่อนบ้านอพยพเข้าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยกว่าครอบครัวเรือน  ได้พากันเรียกหมู่บ้านของตนเองเป็นคุ้ม  บ้านหนองบั่วบ้าง บ้านหนองฮีบ้าง  คุ้มบ้านคงบ้าง   และผู้นำในหมู่บ้านขณะนั้นคือนายสังข์  กมล  ได้นัดประชุมหัวหน้าคุ้มต่าง ๆ  เรื่อง ควรจะตั้งชื่อหมู่บ้านของเราอย่างดี  และในที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า ควรตั้งชื่อบ้านว่า  บ้านจานด้วยตั้งตามลักษณะสิ่งแวดล้อม  คือในที่ใกล้หมู่บ้านนี้มีต้นจาน ขึ้นโดยรอย ๆ หมู่บ้านเป็นจำนวนมาก  (ภาคกลางเรียกต้นทองกวาว)มีลักษณะของต้นสูงใหญ่  ออกดอกสีแดง หรือ มีบางต้นดอกสีเหลือง  ลักษณะดอกคล้ายดอกแค ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน  และชาวบ้านยังนิยมเรียกชื่อเพิ่มว่า  บ้านจานโจด”  เพราะมีต้นโจดขึ้นรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นจำนวนมากเช่นกัน  ต้นโจดเป็นต้นไม้ตระกูลไผ่  การเรียกชื่อส่วนใหญ่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าบ้านจาน  ส่วนคนถิ่นอื่นนิยมเรียกว่าจานโจด  เพื่อให้ชื่อต่างกันกับ บ้านจาน – เตย  ซึ่งอยู่พื้นที่ใกล้เคียงกัน


ศาสนาและประเพณี

วัดดอกจานรัตนาราม


ประวัติวัดอกจานรัตนาราม 


             เมื่อ พ.ศ. 2467 นายสังข์ กมล เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์   ซึ่งมีนายหยุย ทองสุด นายชม พิหูสูตร นายพวง พรบุญ นายพิมพ์ นายปาน พรบุญ นายนิล กมล   และนายสิงห์ ถิ่นทัพไทยได้ชักชวนกันสร้างวัดขึ้นใกล้หมู่บ้าน เลือกทำเลเหมาะสมด้านทิศตะวันออก  ของหมู่บ้านต่อมาได้ไปปรึกษาและนิมนต์พระอาจารย์น้อยเจ้าอาวาสบ้านดง อำเภอฟ้าหยาด มาเป็น  ประธานฝ่ายสงฆ์อำนวยการสร้างกุฎิขึ้นหนึ่งหลัง และนิมนต์ท่านมาจำพรรษาที่วัดสร้างใหม่แห่งนี้  หนึ่งพรรษา แล้วท่านได้แนะนำให้ไปนิมนต์พระน้องชายของท่านที่อยู่วัดบ้านดงมาอยู่ประจำที่นี่   แล้วตั้งชื่อวัดว่า วัดบ้านจาน           ที่มาของคำว่าวัดสว่างพานิชเมื่อปี พ.ศ.2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ น้ำได้ท่วมถึงลานวัด ขณะนั้น  มีเรือพ่อค้าได้ผ่านมาแวะพักค้างแรม ในบริเวณวัด ในขณะเดียวกันพ่อค้าแม่ค้าดังกล่าว ก็ได้นำ  สินค้นค้าที่บรรทุกมา ออกมาขายให้กับชาวบ้าน สินค้าส่วนมากก็เป็นพวก ภาชนะถ้วย โถ โอ ชาม   จาน และไหใส่ปลาร้า ซึ่งช่วงนั้นก็มีพระสังฆาธิการระดับปกครอง ออกมาสำรวจวัด ให้ขึ้นทะเบียน  และตั้งชื่อวัด เพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และท่านก็ได้ มาเห็นชาวบ้าน กับพวกพ่อค้ากำลัง  สาละวล อยู่กับการซื้อขายแลกเปลี่ยน ก็เลยแนะนำให้ ตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า  วัดสว่างพานิช ตั้งแต่  บัดนั้นเป็นต้นมา เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ๆ ก็ไม่ปรากฏมีพวกพ่อค้าแม่ขาย  มาประกอบกิจ ดังเช่น  ปีนั้นอีกเลย ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีเพียงเดียวคืนเดียวเท่านั้น


          ต่อมาชาวบ้านได้เรียนหนังสือ ก็ไม่นิยมเรียกชื่อวัด ตามที่ทางคณะสงฆ์มาตั้งให้แต่ประการใดยังคงเรียกเป็นผู้ร่างหนังสือ และดำเนินการติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบตามลำดับขั้นตอน และในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2542 ก็ได้รับหนังสือจากกรมศาสนา แจ้งว่า คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อได้ตามที่ร้องขอทุกประการ อันที่จริงมีการยื่นหนังสือขอเปลี่ยนชื่อวัดหลายครั้งแล้วว่าวัดบ้านจาน หรือวัดสว่างบ้านจาน            แล้วเมื่อ พ.ศ. 2541 สมัยหลวงปู่ดี รักขิตธัมโม เป็นเจ้าอาวาส คณะลูกศิษย์และชาวบ้านจานได้ปรึกษากัน และได้ทำหนังสือขอเปลี่ยนชื่อวัด โดยมีพระอาจารย์ เจ้าอธิการภูชิต ยสินฺธโร ครั้งนี้ที่สำเร็จโดยง่ายเพราะได้ทำถูกต้องตามขั้นตอนต่างๆ โดยเฉพาะชุมชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นจนถึงได้ลงมติเป็นเอกฉัน ว่าเขาต้องการชื่อวัดที่มีความเป็นมาอันเกี่ยวข้องกับประวัติหมู่บ้านเขา และชื่อวัดต้องมีความเหมาะสม            หลักการและเหตุผลที่สามารถอนุญาตให้เปลี่ยนได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ชื่อวัดดอกจานรัตนารามนี้ เพราะอะไรจึงไม่เอาเพียงว่า วัดบ้านจาน ก็น่าจะพองาม จึงขออธิบายให้ได้รู้ทั่วกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า คำว่าจานในภาษาเขียน หมายถึง ภาชนะใส่อาหาร ประการหนึ่ง และอาจหมายถึงต้นไม้หรือ ต้นจานในภาษาเรียกของคนภาคอีสานเราก็ได้ แต่ถ้ามานึกถึงภาษาพูด จะมีความหลายนัยด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้เน้นให้คำว่าจานในที่นี้ เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่คนภาคอีสานเรียกชื่อแล้วรู้กันทันที ส่วนคนภาคอื่นจะเรียกว่า ต้นทองกวาว ก็เป็นอีกเรื่องและที่สำคัญ ได้นำเอาคำว่าดอกมาเสริมให้มีความหมายที่ตัดสินได้ว่าเป็นต้นไม้เท่านั้น เพราะสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน(บ้านจาน) ส่วนคำว่ารัตนพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี คำว่าอาราม” ก็หมายถึงความรื่นรมสบายใจ ซึ่งวัดทั่วไป นิยมใช้กัน เมื่อนำมาสนธิกัน จึงได้รูปศัพท์เป็นวัดดอกจานรัตนาราม” ตั้งแต่ตั้งวัด - ปัจจุบัน มีเจ้าอาวาสผ่านมาแล้ว 11 รูป


            รายนามเจ้าอาวาสวัดดอกจานรัตนาราม รูปแรก – ปัจจุบัน

                 ๑. พระอธิการน้อย กตธมฺโม       ปี  .ศ. ๒๔๖๗    

                 ๒. พระอธิการทัด ถาวโร            ปี  .ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๗๑   

                 ๓. พระอธิการผุย อภิวฑฺฒโน      ปี  .ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๘๒   

                 ๔. พระอธิการชาลี ฐิตธมฺโม       ปี  .ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๙   

                 ๕. พระอธิการบุญ ปุญญกโร       ปี  .ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๒  

                 ๖. พระอธิการทอง สุวณโณ       ปี  .ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๔   

                ๗. พระอธิการหวัน เชตธมฺโม     ปี  .ศ. ๒๔๙๕ - ๒๔๙๗   

                ๘. พรอธิการพรมมา วรธมฺโม     ปี  .ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๑๐   

                ๙. พระอธิการเผือก จนฺทธมฺโม    ปี  .ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๙  

              ๑๐. พระอธิการดี รกฺขิตธมฺโม       ปี  .ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๔๓  

              ๑๑. พระครูรัตนธรรมานุรักษ์       ปี   พ.ศ. ๒๕๔๔  -   ปัจจุบัน

การประกอบพิธีกรรม



การแข่งเรือประเพณี



การเมืองการปกครอง

ทำเนียบผู้ใหญ่บ้าน 



                                    รายชื่อผู้ใหญ่บ้านจานตั้งแต่ตั้งหมู่บ้าน – ปัจจุบัน



.  นายสังข์  กมล   หมู่  ๖
.  นายเกตุ  โสมโมรา                       หมู่  ๖
.  นายดี  โสมโมรา                           หมู่  ๖
.  นายสอน  ขันโมรี                          หมู่  ๖
.  นายเคน  ประสานทอง                   หมู่  ๖
นายลุน  ราชธรรมมา                       หมู่  ๖
นายทองจันทร์  มะหะหมัด               หมู่  ๖
นายเฉลิม  โสมโมรา                       หมู่  ๖
นายเพิ่ม  ทีภูงา                              หมู  ๘
๑๐นายบัวลี  ขันโมรี                          หมู่  ๘
๑๑นายพรม  ถิ่นทัพไทย                     หมู่  ๑๔
๑๒นายพรมมา  ถิ่นทัพไทย                หมู่  ๙
๑๓นายบุญสิน  ทีภูงา  (สองสมัย) หมู่  ๙
๑๔. นายสมศักดิ์  ถิ่นทัพไทย                    หมู่  ๘
๑๕. นายกรุง  น้ำมนต์ดี                           หมู่  ๖